SCB CIO ชี้เศรษฐกิจโลกเสี่ยง รัสเซีย-ยูเครนส่อยืดเยื้อ แนะนักลงทุน “ถือเงินสด”

SCB CIO ประเมินสงคราม “รัสเซีย-ยูเครน” ไม่แน่นอนสูง-ส่อยืดเยื้อ-เศรษฐกิจโลกเสี่ยง เหตุราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ดันเงินเฟ้อพุ่งสูง-แนวโน้มยืดเยื้อ คาดธนาคารกลางหลัก “Fed-ECB” ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็ว-แรง พร้อมคงมุมมองการลงทุนแนะเพิ่มน้ำหนัก “ถือเงินสด-ไม่ซื้อไม่ขายสินทรัพย์เสี่ยง” จับจังหวะสะสมหุ้น “ไทย-เวียดนาม” เป็นหลุมหลบภัยช่วงตลาดผันผวนสูง

วันที่ 14 มีนาคม 2565 ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-และยูเครนยังมีความรุนแรง และ ความไม่แน่นอนสูง สัญญาณล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก ที่อาจมีบางประเทศมีความเสี่ยงต่อภาวะ Stagflation มากขึ้น (เศรษฐกิจเติบโตต่ำ แต่เงินเฟ้อและอัตราการว่างงานสูง) จากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ในการวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ประเมินจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) การสู้รบมีทั้งทางบก น้ำ อากาศ และ cyber ยูเครนต่อสู้อย่างเข้มข้น โดยได้รับความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ รวมถึงอาวุธจากหลายประเทศในยูโรปและสหรัฐ ในขณะที่รัสเซียมีการขู่ใช้อาวุธนิวเคลียร์

2) มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย สะท้อนผ่านราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น มาตรการคว่ำบาตรต่อภาคการเงินการธนาคารและเศรษฐกิจรัสเซียยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการขู่ลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ทำให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะ Stagflation สูงขึ้น

และ 3) การเจรจาที่ผ่านมาเป็นการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ SCB CIO ประเมินว่าตลาดจะให้น้ำหนักกับการเจรจาของเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยเฉพาะประธานาธิบดีของทั้งสองประเทศมากกว่า

ทั้งนี้ ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกถดถอย (Stagflation concern) ในขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อสูงและยืดเยื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ทั้งส่งออกและนำเข้าของรัสเซียยูเครนต่อประเทศเศรษฐกิจหลักจะมีไม่มากนัก

แต่ความยืดเยื้อของสงครามและจากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุนลดลง ราคาพลังงานและเงินเฟ้อที่สูง และภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป จึงนับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ความกังวลต่อการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักของรัสเซีย เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี อะลูมิเนียม ทองแดง และปุ๋ยเคมี ทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง และเป็นความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อด้านพลังงานและอาหาร (energy and food inflation) ในหลายประเทศ ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อมากกว่าที่ธนาคารกลางและตลาดคาดไว้ก่อนหน้านี้

“ในระยะถัดไปเราประเมินว่าราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นและมีแนวโน้มยืดเยื้อ จะทำให้เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยด้านต้นทุน (cost push inflation) เป็นปัจจัยกังวลหลักของตลาดต่อไป ซึ่งประเทศในเอเชียอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานสุทธิ ยกเว้นมาเลเซียและอินโดนีเซีย

โดยประเทศไทยนำเข้าพลังงานต่อ GDP สูงที่สุด เงินเฟ้อด้านค่าจ้าง (wage inflation) ยังคงโตต่ำยกเว้นในสหรัฐ ส่วนเงินเฟ้อจากอาหาร (food inflation) มีแนวโน้มเร่งตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศที่ใช้ข้าวสาลีเป็นหลัก แต่ในเอเชียได้รับผลกระทบน้อยเฉพาะข้าวไทยและเวียดนาม ไม่ได้ปรับตัวสูงมากนัก”

ดร.กำพล กล่าวว่า SCB CIO คาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะไม่ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงจนเกินไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ไว้ ธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะ Fed จะยังคงส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย แต่ด้วยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกถดถอย จึงเชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 bps ในการประชุม 15-16 มี.ค. และรวมทั้งหมด 150 bps ในปี 2022

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วอาจไม่ได้ขยับขึ้นเร็วนัก เนื่องจากตลาดอยู่ในช่วงนักลงทุนหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น (risk-off mode) จากความกังวลประเด็น stagflation จะทำให้อัตราผลตอบแทน (yield curve) มีลักษณะไม่ผันผวน (flattening) มากขึ้น

ซึ่งจะเป็นแรงกดดันกับหุ้นในกลุ่มธนาคารในระยะถัดไป ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศ Emerging markets ที่อ่อนไหว (sensitive) ต่อเงินเฟ้อ เช่น บราซิล ตุรกี ยังอยู่ในระดับสูงและมีความเสี่ยงอยู่มากโดยเฉพาะรัสเซีย ในขณะที่ Asian bond yields ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อต่ำกว่า

“SCB CIO คงมุมมองเพิ่มน้ำหนักการถือเงินสด ไม่ซื้อไม่ขายสินทรัพย์เสี่ยง จับจังหวะสะสมหุ้นไทยและเวียดนาม และยังคงมุมมองหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ต่างประเทศ โดยเฉพาะหุ้นกู้ High yield bond ของจีน รวมทั้งพันธบัตรและหุ้นกู้ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย หรือธนาคารในยุโรป ผลกระทบจากประเด็นสงครามต่อเศรษฐกิจเวียดนามและไทย ส่วนใหญ่จะมาจากราคาพลังงานและเงินเฟ้อ แต่เราคาดว่าธนาคารกลางใน 2 ประเทศจะยังคงเน้นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อผลประกอบการน่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้ รวมถึง valuation ของตลาดเริ่มกลับสู่ระดับที่น่าสนใจ”

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance

รู้ยัง! อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองที่ชื่นชอบ ไม่ต้องควักจ่ายเพิ่ม

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2564 สิทธิของผู้เสียภาษีสามารถเลือกได้ว่า อยากให้เงินภาษีที่เสียไปนั้น เป็นเงินอุดหนุนภาษีให้พรรคการเมืองที่ชอบได้ ในวงเงินไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง หรือสูงสุดไม่เกิน 500 บาท เช็คเงื่อนไข

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2564 รู้หรือไม่ว่า สิทธิของผู้เสียภาษีสามารถแสดงเจตจำนงเลือก อุดหนุนเงินภาษีให้กับพรรคการเมืองที่ชื่นชอบได้ “ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม และไม่กระทบการขอคืน” ง่ายๆ เพียงแสดงความประสงค์อุดหนุนเงินภาษีให้กับพรรคการเมืองสูงสุด ไม่เกินปีละ 500 บาท

 

ภายในวงเงินภาษีที่ต้องชำระ จากขั้นตอนการคำนวณภาษีในแบบ ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 ใส่รหัสพรรคการเมือง (รหัสเลข 3 หลัก ) ที่ต้องการอุดหนุนเพียงพรรคเดียวเท่านั้น

 

โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด 91 ผ่านระบบออนไลน์ ได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2565

หลักเกณฑ์การอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง การแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีที่ชำระให้แก่พรรคการเมือง ผู้เสียภาษีจะอุดหนุนเงินภาษีได้นั้น

 

ต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทยและ
เมื่อคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากรตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วมีภาษีที่ต้องชำระ
ผู้เสียภาษีสามารถแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองได้ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น แต่ต้องไม่เกิน 500 บาท

วิธีการ

 

1.ต้องแสดงเจตนาไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่า

 

ประสงค์จะอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่อุดหนุน ต้องระบุรหัสรายชื่อพรรคการเมืองที่ต้องการอุดหนุน และต้องระบุจำนวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุน
หากไม่ระบุความประสงค์หรือไม่ระบุรหัสรายชื่อพรรคการเมืองหรือไม่ระบุจำนวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุน ให้ถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาอุดหนุน
กรณีที่ระบุจำนวนเงินภาษีที่ประสงค์จะอุดหนุนเกินกว่าจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระหรือเกินกว่า 500 บาท ให้ถือว่าประสงค์จะอุดหนุนเงินภาษีเพียงจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น หรือจำนวน 500บาท แล้วแต่กรณี

2.อุดหนุนเงินภาษีได้เพียงหนึ่งพรรคการเมือง และเมื่อได้แสดงเจตนาแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้ หากแสดงเจตนาเกินกว่าหนึ่งพรรคการเมือง ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองใด

 

3.เงินภาษีที่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองตาม ประกาศนี้ห้ามมิให้นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนเงินบริจาค ตามมาตรา47 แห่งประมวลรัษฎากร

 

4.กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้เสียภาษี และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีรวมกันและรวมคำนวณภาษีให้ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิระบุความประสงค์ของตนเองในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

ตรวจรายชื่อและรหัสพรรคการเมือง สำหรับการอุดหนุนเงินภาษีพรรคการเมืองปีภาษี 2564 จำนวน 84 พรรคการเมือง ดังนี้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกแห่งหรือ ศูนย์สารสนเทศสรรพากร โทร.1161

 

อ้างอิงข้อมูล : กรมสรรพากร

อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/money_market

ได้ไปต่อ! นักลงทุนตลาดเกิดใหม่มั่นใจอนาคตคริปโต

ผลสำรวจพบนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิกและละตินอเมริกากระตือรือร้นซื้อคริปโตเพิ่ม เพราะเชื่อมั่นแนวโน้มการเติบโตระยะยาว

นักวิจัยของโทลูนา ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคที่มีชื่อเสียง ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นนักลงทุน 9,000 คนจาก 17 ประเทศเพื่อจัดทำรายงานประจำเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งพบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิกและละตินอเมริกาเชื่อว่า การลงทุนในคริปโตมีแนวโน้มขาขึ้นในระยะยาว ซึ่งตรงข้ามกับนักลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วที่มีแนวโน้มเชื่อว่า คริปโตกำลังอยู่ในวัฏจักรความคาดหวังที่เกินธรรมดารอบใหม่

รายงานระบุว่า นักลงทุน 75% ในตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิกและละตินอเมริกาเล็งลงทุนในคริปโตเพิ่ม
ตลาดเกิดใหม่ดูเหมือนเป็นตลาดที่มีอนาคตสดใสที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมคริปโต โดยนักลงทุน 32% วางใจในคริปโต เทียบกับ 14% ในตลาดพัฒนาแล้วอย่างเช่นอเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู)

ข้อมูลนี้บ่งชี้ปัจจัยสำคัญสองข้อที่ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในตลาดเกิดใหม่และตลาดพัฒนาแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือการรับรู้และความเข้าใจในตลาดคริปโต กล่าวคือแม้ผู้ตอบแบบสำรวจ 61% บอกว่า รู้จักคริปโต แต่มีเพียง 23% ที่คุ้นเคยกับสินทรัพย์ประเภทนี้ ซึ่งโทลูนาชี้ว่า อาจเป็นเพราะคริปโตเป็นแนวคิดที่ซับซ้อนข้าใจยาก

ปัจจุบัน ผู้บริโภคเข้าถึงคริปโตและ nonfungible token (NFT) ได้ง่ายขึ้น ดังจะเห็นได้จากโฆษณาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่สามารถพบได้ในสถานที่มากมายรวมถึงสนามกีฬาทั่วโลก ซึ่งอาจช่วยเพิ่มการรับรู้แต่ไม่จำเป็นต้องทำให้ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจคริปโตมากขึ้น

ความแตกต่างเกี่ยวกับความไว้วางใจสะท้อนออกมาจากส่วนต่างระหว่างผู้ตอบแบบสอบถามที่ลงทุนในคริปโตในตลาดเกิดใหม่ (41%) กับผู้ตอบแบบสอบถามที่ลงทุนในคริปโตในตลาดพัฒนาแล้ว (22%) ความแตกต่างนี้ยิ่งชัดเจนในมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยง โดยมีนักลงทุนในตลาดเกิดใหม่เพียง 25% ที่เชื่อว่า คริปโตเสี่ยงเกินไปที่จะเข้าลงทุน ขณะที่นักลงทุนในตลาดพัฒนาที่คิดแบบนี้มีถึง 42%

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่คาดการณ์เกี่ยวกับคริปโตโดยรวมยังถือว่าสูง กล่าวคือ 45% ของนักลงทุนเห็นด้วยว่า คริปโตไม่ได้รับการรับรองว่าจะประสบความสำเร็จ ขณะที่นักลงทุน 61% วางใจในเงินฝากแบบดั้งเดิมมากกว่า แต่มีแค่ 23% ที่บอกว่า ไว้ใจที่จะสะสมคริปโตในตลาดปัจจุบัน

ผลสำรวจยังระบุถึงส่วนที่ควรปรับปรุงเพื่อยกระดับความไว้วางใจในคริปโต อาทิ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่แข่งขันได้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกต้อง ความเร็วในการทำธุรกรรม ระบบที่ปลอดภัย

การสำรวจความคิดเห็นนี้สรุปว่า นักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในคริปโตสูงที่สุดคือกลุ่มมิลเลนเนียมหรือกลุ่มคนอายุ 25-34 ปี โดยโทลูนาพบว่า 40.5% ของนักลงทุนกลุ่มนี้ทั้งในตลาดเกิดใหม่และตลาดพัฒนาแล้วลงทุนในคริปโต สอดคล้องกับผลสำรวจของมอร์นิ่ง คอนซัลต์ที่พบว่า ครอบครัวชาวมิลเลนเนียล 48% ครอบครองคริปโตภายในสิ้นเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา
กลุ่มต่อมาคือนักลงทุนเจน Z หรือกลุ่มคนอายุ 18-24 ปีทั้งในตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ถึง 40% ลงทุนในคริปโต และกลุ่มที่ลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลน้อยที่สุดคือเบบี้บูมเมอร์หรือกลุ่มคนที่มีอายุ 57-64 ปี ที่มีเพียง 21% ที่มีแผนลงทุนในคริปโต

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket

ศุภาลัยเปิดบ้านต้อนรับพันธมิตรกลุ่ม CECI แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการจัดการวัสดุในอุตฯ ก่อสร้าง ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) โดย ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร (ที่ 6 จากซ้าย) และนายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสสายงานก่อสร้างอาคารสูง (ที่ 2 จากซ้าย) ผนึกกำลังพันธมิตรกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง (CECI) ร่วมการประชุม CECI ครั้งที่ 1/2022 ณ อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ โดยได้หารือความคืบหน้าและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการวัสดุในอุตสาหกรรมก่อสร้างตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมทั้งมีการแชร์ความรู้จาก รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเรื่อง Real Estates as Material-Sinks for Circular Economy การนำขยะหรือของเสียมา Upcycling และใช้เป็นวัสดุในการผลิตวัสดุก่อสร้าง เพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรของโลกได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ กลุ่ม CECI ยังได้มีการหารือถึงพิธีการจัดงานลงนาม CECI MOU โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของกลุ่มพันธมิตร ที่จะนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งพิธีลงนามจะมีขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ทั้งนี้ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แนวคิด “ศุภาลัยใส่ใจ…สร้าง สรรค์สังคมไทย” โดยหนึ่งใน Mission ที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการจัดการของเสีย หรือ Waste Management ในกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักในวงจรธุรกิจ

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket

MINT เปิดจองหุ้นกู้แบบไร้ใบ 21-23 มี.ค.นี้

ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดทางนักลงทุนรายย่อยจองซื้อหุ้นแบบไร้ใบ “MINT e-Bond” ครั้งที่ 1/2565 รวม 3 ชุด ในวันที่ 21-23 มีนาคมนี้ และหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A จากทริสเรทติ้ง

นายชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT จะเปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อหุ้นกู้แบบไร้ใบ ‘MINT e-Bond’ ครั้งที่ 1/2565 รวม 3 ชุด ในวันที่ 21-23 มีนาคมนี้ ซึ่งบริษัทและหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A จากทริสเรทติ้ง

สำหรับหุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี 2 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.00% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 5 ปี 4 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.60% ต่อปี และหุ้นกู้ดิจิทัลชุดที่ 3 อายุ 4 ปี 4 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.30% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน และจองซื้อขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท พร้อมรับสิทธิพิเศษส่วนลด 10% ร้านอาหารในเครือไมเนอร์ฯ 6 แบรนด์ที่ร่วมรายการ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคมนี้ จนตลอดอายุหุ้นกู้ (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

โดยหุ้นกู้ชุดที่ 1-2 จะเสนอขายผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บล.เกียรตินาคินภัทร ย้ำหุ้นกู้จะถูกนำเข้าพอร์ตหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนเท่านั้น ส่วนหุ้นกู้ดิจิทัลชุดที่ 3 จะเปิดจองซื้อผ่านวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้บนแอป ‘เป๋าตัง’ ผู้ลงทุนสามารถดาวน์โหลดแอปเป๋าตัง สมัครบริการวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้ ทำแบบประเมินความเสี่ยงผู้ลงทุน ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขณะที่ผลประกอบการล่าสุดของ MINT ฟื้นตัวโดดเด่น มีกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2564 กว่า 1.7 พันล้านบาท หลังจากธุรกิจโฮเทลส์และไลฟ์สไตล์เทิร์นอะราวนด์ ส่วนธุรกิจฟูดทำกำไรต่อเนื่อง 6 ไตรมาส ตอกย้ำผลประกอบการที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง

อ้างอิง
https://mgronline.com/stockmarket

SCB ติดเครื่องยานแม่ทำเทนเดอร์ฯ แลกหุ้นเป็น SCBX เริ่ม 2 มี.ค.นี้

“ไทยพาณิชย์” ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างกลุ่มการเงิน มุ่งสร้างการโตระยะยาว ล่าสุดยานแม่ประกาศทำ Tender Offer หุ้น SCB แลกหุ้นสามัญเพิ่มทุนออกใหม่ SCBX อัตราแลกเท่ากับ 1 หุ้นสามัญ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญ SCBX และ 1 หุ้นบุริมสิทธิ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญ SCBX 2 มี.ค.-18 เม.ย.นี้

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของธนาคาร เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ได้มาถึงกระบวนการแลกหุ้นจากธนาคารไทยพาณิชย์ “SCB” เป็น “SCBx” และนำหุ้น “SCBx” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทนหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของกลุ่มไทยพาณิชย์ เพื่อเร่งขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินที่มีศักยภาพสูง และธุรกิจแพลตฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ มุ่งยกระดับองค์กรสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายสร้างการเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด และสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน และแข็งแรงให้กับผู้ถือหุ้นต่อไปในระยะยาว

กระบวนการแลกหุ้นในครั้งนี้ SCBx จะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อแลกเปลี่ยนกับหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารในอัตรา 1 หุ้นสามัญของ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX และ 1 หุ้นบุริมสิทธิของ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX การแลกหุ้นดังกล่าวจะไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่ผู้ถือหุ้นของ SCB ได้ทำการ “ตอบรับ” คำเสนอซื้อหลักทรัพย์แล้วเท่านั้น และเมื่อกระบวนการแลกหุ้นแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2565 และเมื่อผู้ถือหุ้น SCB ตอบรับคำเสนอซื้อมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ SCB หุ้น “SCBX” จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

SCB ติดเครื่องยานแม่ทำเทนเดอร์ฯ แลกหุ้นเป็น SCBX เริ่ม 2 มี.ค.นี้โดยจะยังใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “SCB” เช่นเดิม และผู้ถือหุ้น SCB ที่ได้ทำการแลกหุ้นได้สมบูรณ์ตามกำหนดเวลาจะเปลี่ยนเป็นผู้ถือหุ้น SCBx แทน ส่วนผู้ถือหุ้นของ SCB ที่ไม่ได้ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ในเวลาที่กำหนดจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคารต่อไป อย่างไรก็ตามหลักทรัพย์ของธนาคารจะถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ในวันที่หลักทรัพย์ของ SCBX เข้าจดทะเบียน

“เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพ และความคล่องตัวในการเติบโตของธุรกิจภายใต้กลุ่มไทยพาณิชย์ในหลายด้าน รวมทั้งเพิ่มความชัดเจนในการทำธุรกิจของกลุ่ม ให้สามารถขยายและพัฒนาธุรกิจใหม่ที่มีอนาคตได้อย่างเต็มที่ มีการแบ่งแยกการกำกับดูแล และการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของกลุ่มไทยพาณิชย์โดยรวม และจะนำไปสู่โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากการดำเนินงานของธุรกิจที่โอนย้ายไปยัง SCBX รวมถึงธุรกิจใหม่ในอนาคตในอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโต และมีศักยภาพสูง” นายอาทิตย์ กล่าวเสริม

SCB ติดเครื่องยานแม่ทำเทนเดอร์ฯ แลกหุ้นเป็น SCBX เริ่ม 2 มี.ค.นี้สรุปข้อมูลการตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ SCB ระยะเวลารับซื้อตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น. ของวันที่ 2 มีนาคม 2565 ถึง วันที่ 18 เมษายน 2565 (เฉพาะวันทำการ) หรือระยะเวลาทำการของแต่ละช่องทางรับยื่นแบบตอบรับคำเสนอซื้อ รวมทั้งสิ้น 30 วันทำการ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวอาจขยายเวลารับซื้อได้อีก

ตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Agents)1.บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) 2.บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ภัทร จำกัด (มหาชน) (KKPS) 3.บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) (BLS) 4.บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (ASP)

สถานที่ติดต่อในการยื่นแบบตอบรับคำเสนอซื้อ 1.กรณีผู้ถือหุ้นมีใบหุ้น (scrip)

•ติดต่อได้ที่สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ (สำหรับผู้ถือหุ้นประเภทบุคคล) หรือ Investment Center (สำหรับลูกค้า SCB Wealth) หรือตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Agents) ได้แก่ SCBS, KKPS และ BLS (สำหรับผู้ถือหุ้นประเภทบุคคลและนิติบุคคล) ข้างต้น

หมายเหตุ: ขอความร่วมมือให้ผู้ถือหุ้นยื่นแบบตอบรับ ภายในวันที่ 5 เมษายน 2565 หรือล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลารับซื้อ เนื่องจากตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ต้องนำใบหุ้นไปตรวจสอบ และฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์

2.กรณีผู้ถือหุ้นที่ไม่มีใบหุ้น (scripless) (เช่น มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์)

•ติดต่อได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ท่านมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์นั้นให้บริการรวบรวมเอกสารเพื่อยื่นตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์

3.กรณีฝากหุ้นไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในบัญชีของผู้ออกหลักทรัพย์ (Issuer Account) สมาชิกเลขที่ 600

•ติดต่อได้ที่ตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Agents)

หมายเหตุ: ขอความร่วมมือให้ผู้ถือหุ้นยื่นแบบตอบรับ ภายในวันที่ 11 เมษายน 2565 หรือล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลาการรับซื้อ เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการดำเนินการประสานงานในการโอนหลักทรัพย์

4.กรณี NVDR

•ติดต่อได้ที่ตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Agents)

หมายเหตุ: ขอความร่วมมือให้ผู้ถือหุ้นยื่นแบบตอบรับ ภายในวันที่ 11 เมษายน 2565 หรือล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลาการรับซื้อ เนื่องจากตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการโอน NVDR กับบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของการตอบรับคำเสนอซื้อต่อไป

อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business

 

ถล่มจมดิน HANA

สุนันท์ ศรีจันทรา
การประกาศผลประกอบการที่ไม่น่าประทับใจ กลายเป็นชนวนให้หุ้นบริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA ถูกถล่มขายอย่างหนักจนราคาหุ้นดิ่งฮวบ สร้างจุดต่ำสุดใหม่ในรอบนี้

HANA รายงานผลประกอบการงวดบัญชีปี 2564 ผ่านตลาดหลักทรัพย์ ค่ำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีกำไรสุทธิ 1,545 ล้านบาท ลดลง 19% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิ 1,908 ล้านบาท

กำไรสุทธิที่ลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพนักงานที่สูงขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนา รวมทั้งขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 444 ล้านบาท และรายการยกเว้น 420 ล้านบาท จากการบันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนจากตราสารทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกองทุนซัปพลายเชนของบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564

หุ้น HANA ถูกเทขายทันทีที่เปิดตลาดเช้าวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยเปิดที่ราคา 54 บาท และลงไปต่ำสุดที่ 50.25 บาท ก่อนปิดการซื้อขายที่ราคา 51 บาท ลดลง 11.25 บาท หรือลดลง 18.07% มูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 3,383.86 ล้านบาท โดยเป็นหุ้นที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ 2 ประจำวัน

ผลประกอบการ HANA งวด 9 เดือนแรกปี 2564 ยังเติบโตสูง แต่งวดไตรมาสที่ 4 ผลประกอบการขาดทุนประมาณ 56 ล้านบาท ฉุดให้งวดบัญชีปี 2564 ชะลอตัวลง

ผลกำไรที่ออกมาน่าผิดหวัง กระตุ้นให้เกิดการเทขายหุ้น โดยนักลงทุนไม่ให้น้ำหนักกับการประกาศจ่ายเงินปันผลจากการดำเนินงานงวดครึ่งปีหลังอีกหุ้นละ 1 บาท หลังจากงวดครึ่งปีแรกจ่ายเงินปันผลไปแล้วหุ้นละ 1 บาท

หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหุ้นกลุ่มที่โดดเด่นขึ้น ฝหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยราคาปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากต้นปี 2563 และในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา HANA เคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่ที่ราคา 96.25 บาท ก่อนจะปรับฐานลงมา โดยต้นปียังเคลื่อนไหวระดับ 80 บาท

ก่อนหน้านั้น หุ้นบริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE เคยถูกถล่มมาแล้ว หลังจากแผนการขยายกำลังผลิตต้องสะดุดเพราะเครื่องจักรใหม่มีปัญหา ทำให้รายได้จากการขยายกำลังไม่เข้าเป้าตามที่กำหนดไว้ จนราคาหุ้นปรับฐานลงแรง และทำให้หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ถูกเทขายตาม

อย่างไรก็ตาม หุ้น HANA สามารถประคับประคองตัวยืนเหนือระดับ 60 บาทได้มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ที่ตกต่ำอย่างผิดความคาดหมาย ทำให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนก และหุ้นเทขายหุ้น จนราคาร่วงหนัก และใกล้ไปแตะจุดต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ 49 บาท

ผลกำไรที่ชะลอตัว จะทำให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ต้องปรับลดราคาเป้าหมายหุ้น HANA ลง ซึ่งจะต้องรอดูว่านักวิเคราะห์หลักทรัพย์จะหั่นราคาหุ้น HANA ที่เหมาะสมเหลือเท่าไหร่

แต่ราคาหุ้นที่ปรับตัวลง ทำให้ค่าพี/อี เรโช HANA อยู่ที่ประมาณ 17 เท่า และอัตราเงินปันผลตอบแทนประมาณ 2.70% ซึ่งหากแนวโน้มผลประกอบการกลับมาเติบโต ราคาหุ้นอาจฟื้น

ในระยะสั้น สถานการณ์หุ้น HANA ยังไม่ดีนัก และอยู่ระหว่างช่วงการปรับฐานราคา โดยไม่รู้ว่าแรงขายหมดยังมีอยู่หรือไม่ หุ้นซึมซับรับข่าวร้ายหมดหรือยัง นักลงทุนจึงไม่ควรรีบร้อนเข้าไปช้อนซื้อ แต่น่าจะรอให้ปรับฐานจนสะเด็ดน้ำเสียก่อน

หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ช่วงนี้เคราะห์ไม่ดี ถูกข่าวร้ายกระหน่ำไล่เป็นรายตัว ตั้งแต่บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ถูกถอดออกจากการคำนวณดัชนี 50 และดัชนี 100 ตามด้วย KCE ที่แผนการขยายกำลังผลิตเกิดสะดุด

และปิดฉากด้วย HANA ที่ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2564 น่าผิดหวังอย่างแรง ฉุดให้หุ้นดิ่งลงเหว จนขายหนีตายกันไม่ทัน

อ้างอิง
https://mgronline.com/stockmarket

SME D Bank ออกสินเชื่อฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว กู้ได้สูงสุด 5 ล้านบาท

SME D Bank หนุนเอสเอ็มอีท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง ผ่านมาตรการด้าน “การเงิน” เปิดตัว “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท กู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย ผ่อนนาน 10 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดถึง 24 เดือน ช่วยเสริมสภาพคล่อง ควบคู่มาตรการด้าน “การพัฒนา” มอบ “3 เติม” ช่วยยกระดับเติบโตยั่งยืน

วันที่ 1 มีนาคม 2565 นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย ได้ออกมาตรการสนับสนุนทั้งด้าน “การเงิน” และ “การพัฒนา” ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) รับโอกาสจากสถานการณ์ท่องเที่ยวที่คาดจะฟื้นตัวได้เต็มศักยภาพ และกลับมาเดินหน้าธุรกิจได้ดีอีกครั้งในเร็ววัน

สำหรับมาตรการด้าน “การเงิน” เปิดตัวสินเชื่อใหม่ โครงการ “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ รวมถึง เอสเอ็มอีทุกประเภทที่เป็นคู่ค้ากับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน นำไปเสริมสภาพคล่อง ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือสำรองเป็นค่าใช้จ่าย

“คุณสมบัติเปิดกว้าง กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี หรือ MLR -1.25% สำหรับวงเงินกู้ ได้แก่ กลุ่มบุคคลธรรมดา สูงสุด 1 ล้านบาท และกลุ่มบุคคลธรรมดาจด VAT หรือนิติบุคคล สูงสุด 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี พร้อมปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 24 เดือน โดยเปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินโครงการ แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน”

ส่วนมาตรการด้าน “การพัฒนา” ช่วยเพิ่มศักยภาพ ยกระดับเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง สามารถปรับตัวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการ “3 เติม” ได้แก่ “เติมความรู้” โดยร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดสัมมนาทิศทางและแนวโน้มการท่องเที่ยวหลังโควิด-19, สร้างมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว รวมถึง การขออนุญาตด้านโรงแรมและที่พัก เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง

“จากแนวโน้มการกลับมาฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในปีนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องจะเดินหน้าธุรกิจอีกครั้ง โดย SME D Bank พร้อมสนับสนุนด้านการเงินควบคู่การพัฒนา รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านการเงิน จะช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ประมาณ 1,000 ราย รักษาการจ้างงาน 5,000 ราย และก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 9,160 ล้านบาท” นางสาวนารถนารี กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการ “สินเชื่อ SMEs Re-Start” และด้านการพัฒนา สามารถแจ้งความประสงค์ได้ผ่านออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ของ SME D Bank (https://www.smebank.co.th/) แอปพลิเคชั่น “SME D Bank” และ LINE Official Account : SME Development Bank เป็นต้น รวมถึงสาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance

DOD ปี 65 อัดงบลงทุน 200 ล้าน ลุยกัญชง เต็มสูบ

“ดีโอดี ไบโอเทค” เดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจ ปั้นรายได้ธุรกิจสายเขียว ก้าวสู่ “New S-Curve” ดัน“สยาม เฮอเบิล เทค” ลุยโรงสกัดสารสกัดจากกัญชงเต็มสูบ อัดงบลงทุน 200 ล้านบาท เพิ่มไลน์ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร – โรงสกัดสารกัญชง

นายธนิน ศรีเศรษฐี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน)หรือDOD เปิดเผยว่า หลังจากภาครัฐได้ประกาศปลดล็อคให้กัญชง สามารถขออนุญาตปลูก ผลิต นำเข้าเมล็ดพันธุ์ ครอบครอง และจำหน่ายได้อย่างเสรี

บริษัทฯ ได้เล็งเห็นโอกาสในการลงทุนดังกล่าว จากความเชี่ยวชาญของ DOD ในด้านการพัฒนาวิจัยคิดค้นสูตรนวัตกรรมและการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งมีจุดแข็งและความพร้อมด้านโรงสกัดวัตถุดิบ ทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ที่ค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมและพัฒนาสารสกัดพืชสมุนไพร สู่การต่อยอดไปยังการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีอยู่แล้ว

และสามารถต่อยอดธุรกิจใหม่อย่าง ธุรกิจโรงสกัดสารสกัดจากกัญชง-กัญชา พืชกระท่อม และพืชสมุนไพรไทย ภายใต้ “บริษัท สยาม เฮอเบิล เทค จำกัด” (SHT) โดยมีทุนจดทะเบียน 260 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วงปีที่ผ่านมา DOD สามารถตอกย้ำการเป็นผู้พัฒนาและต่อยอดในการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้อย่างครบวงจรแบบ One Stop Service Solution ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ

ทั้งนี้บริษัทฯมองว่าจากแผนการวางกลยุทธ์การปรับโมเดลธุรกิจ และการต่อยอดธุรกิจโรงสกัด ในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ New S-Cure อย่างเต็มรูปแบบในปี 2565

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน สู่ New S-Cure ในปี 2565 บริษัทฯ ได้ตั้งงบสำหรับการลงทุน (CAPEX) ไว้ประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งมาจากกระแสเงินสดของกิจการเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจหลัก (Core Business) จำนวน 100 ล้านบาท เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยการนำนวัตกรรมการผลิตในรูปแบบใหม่ๆเข้ามาเพื่อต่อยอดและตอบโจทย์การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกี่ยวกับ กัญชง

เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทฯมียอดออเดอร์การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่สกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp Seed Oil) เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และมีการทยอยส่งมอบให้กับลูกค้าบางส่วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกันบริษัทฯได้เตรียมขยายไลน์การผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบ เจล และ เจลลี่ ที่มีความนิยมค่อนข้างมากในประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศญี่ปุ่น โดยในปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมที่มากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาสูตรพัฒนา แพคเกจจิ้ง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับลูกค้า โดยคาดว่าจะสามารถออกผลิตภัณฑ์ได้ในไตรมาส2/2565

ส่วนงบลงทุนอีก 100 ล้านบาท บริษัทฯเตรียมนำไปขยายการลงทุนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการด้านสกัดให้มีขีดความสามารถในการสกัดสารออกมาให้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทฯยังได้มีการเจรากับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตจากต่างประเทศ ทั้งด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ ที่มีความต้องการที่จะเข้ามาขยายธุรกิจในประเทศไทย เพื่อที่จะสร้างฐานการผลิตด้านการสกัดสาร สำหรับรองการขยายตลาดไปในภูมิภาค โดยมองทั้งการร่วมลงทุน และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในช่วงไตรมาส 3/2565

“ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจมีการชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมาจนฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภค DOD เริ่มมีการวางแผนในการปรับโครงการธุรกิจใหม่ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทฯจึงเห็นควรว่าต้องมีการหยุดการดำเนินงานของบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจเครื่องสำอางและธุรกิจเครือข่าย(บริษัท พีซีซีเอ แล็บบอราเทอรี่ จำกัด (PCCA), บริษัท อัลทิมา ไลฟ์ จำกัด) เพื่อหยุดการขาดทุนต่อเนื่อง และเพิ่มไลน์ธุรกิจเกี่ยวกับโรงสกัด เพื่อเน้นสารสกัดจากกัญชง พืชกระท่อม และพืชสมุนไพรไทย (บริษัท สยาม เฮอเบิล เทค จำกัด) เพื่อให้ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจหลักแทน ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์ Backward Integration จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มบริษัทได้อย่างมั่นคง โดยจะผลักดันให้ DOD ก้าวสู่ New S-curve เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการเติบโตครั้งใหม่ ซึ่งนั่นก็รวมถึงมีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้สอดรับการปรับโครงสร้างธุรกิจด้วยเช่นเดียวกัน ”

ด้านนางสาวสุวารินทร์ ก้อนทอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน DOD กล่าวว่า แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรงจากโรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) จนส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในปี 2564 ทำให้มีรายได้จากการขายจำนวน 1,015.32 ล้านบาท ลดลง 62.01 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ 5.76 และกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 307.78 ล้านบาท ลดลง 46.45 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ 13.11 อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังมีกำไรสำหรับปีจากการดำเนินงานต่อเนื่องลดลงจาก 290.78 ล้านบาท เป็น 233.11 คิดเป็นอัตราร้อยละ 19.83 แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงและเปราะบางทำให้บริษัทได้ประเมินความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงเห็นควรว่าต้องมีการหยุดการดำเนินงานของบริษัทย่อย 2 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจเครื่องสำอางและธุรกิจเครือข่าย

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทำให้กำไรส่วนของบริษัทใหญ่ลดลง 49.79 ล้านบาท ลดลงในอัตราร้อยละ 64.75 เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยบริษัทเล็งเห็นว่าการปรับโครงสร้างองค์กรในครั้งนี้จะส่งผลให้บริษัทมีการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

สำหรับฐานะทางการเงินของบริษัทยังมีสภาพคล่องและความมั่นคงทางการเงินในระดับที่แข็งแกร่ง พิจารณาได้จากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เท่ากับ 2.42 เท่า และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) เท่ากับ 0.29 เท่า

อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business

MILL กำไรปี 64 กระฉูด 325% EBITDA ทะลุ 1.1พันล้าน

MILL โชว์งบปี 64 กำไรสุทธิกว่า 379 ล้านบาท พุ่ง 325% หากรวมส่วนแบ่งกำไรจาก KMS กำไรสุทธิพุ่ง 564 ล้านบาท ขณะที่ EBITDA ทะลุ 1.1 พันล้านบาท ผลจากภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กสดใส

นายประวิทย์ หอรุ่งเรือง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน)หรือ MILL เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิ 379 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 325% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 168 ล้านบาท และมี EBITDA อยู่ที่ 1,131 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20 % เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มี EBITDA ที่ 940 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้รวม 15,812 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,171 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 11,641 ล้านบาท

ทั้งนี้กำไรสุทธิข้างต้น ยังไม่ได้รวมผลการดำเนินงานของ บริษัท โคเบลโก้ มิลล์คอน สตีล จำกัด หรือ KMS ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน 50 % กับบริษัท โกเบ สตีล ลิมิเต็ด ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเหล็กลวดเกรดทั่วไปและเหล็กลวดเกรดพิเศษ ซึ่งปัจจุบันสามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายเหล็กลวดเกรดพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสามารถกลับมาดำเนินการมีผลกำไรได้แล้ว โดยปี 2564 KMS มีกำไรสุทธิ 369 ล้านบาท หากรวมกับกำไรสุทธิของบริษัทจะส่งผลให้มีกำไรสุทธิปี 64 ที่ 564 ล้านบาท

“ปี 64 เรามีรายได้จากการขายและบริการเพิ่มขึ้นถึง 36% เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยปรับเพิ่มสูงขึ้นตามราคาเหล็กในตลาดโลก ซึ่งรวมถึงราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่ม ทำให้ต้นทุนการขายและบริการอยู่ที่ 14,635 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 891 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14 % และมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 6%”นายประวิทย์กล่าว

 

ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 74 ล้านบาท หรือลดลง 15 % เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของค่าขนส่งและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของบริษัท และต้นทุนทางการเงินลดลง 9 % เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัท

ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2565 บริษัทคาดว่า จะมีกำไรสุทธิต่อเนื่องจากปี 2564 เนื่องจากประเมินว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับบริษัทมีความพร้อมในการแข่งขัน

 

นอกจากนี้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศจีนที่มีการจำกัดการส่งออกและลดกำลังการผลิต และยกเลิกนโยบายคืนภาษีส่งออก (Tax rebate) ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงเพิ่มขึ้น

อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/money_market